อริยวินัย : “ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา”

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

วิธีแสดงอาบัติ

แสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ

ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติในวันอุโบสถ. เธอได้มีความปริวิตกในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงทำอุโบสถ ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ต้องอาบัติในวันอุโบสถ. ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

“อะหัง อาวุโส อิตถันนามัง อาปัตติง (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) อาปันโน ตัง ปะฏิเทเสมิ แน่ะเธอ ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.”

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า             “ปัสสะมิ  ท่านเห็นหรือ?”

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า        “อามะ ปัสสามิ  ครับ ผมเห็น.”

ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า              “อายะติง สังวะเรยยาสิ ท่านพึงสำรวมต่อไป”

สงสัยในอาบัติ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ ในวันอุโบสถ.ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวีัยงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ ว่า

“อะหัง อาวุโส อิตถันนามายะ อาปัตติยา (แทนด้วยชื่อประเภทของอาบัติ) เวมะติโก ยะทา นิพเพมะติโก ภะวิสสามิ ตะทา ตัง อาปัตติง ปะฏิกะริสสามิ แน่ะเููธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น”

ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ ฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

(จากพุทธพจน์นี้ ทำให้ทราบว่าสมัยพุทธกาลมีการแสดงอาบัติเฉพาะที่ต้องหรือสงสัยจริงๆ ปัจจุบันได้มีคณาจารย์เรียบเรียงวิธีการแสดงอาบัติไว้ ดังนี้) 

ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า พึงแสดงดังนี้ 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.(3 จบ)

กระผมขอรวบรวมอาบัติทั้งหลายทั้งปวง ที่สมควรเทศนามาแสดงต่อท่าน(พระอาจารย์) ถ้าหากกระผมล่วงเกินในสิกขาบทเหล่าใด ก็ขอแสดงในสิกขาบทเหล่านั้น ถ้าไม่ได้ล่วงเกินก็เป็นอันว่าไม่ได้แสดง.

อะหัง ภันเต สัมมะหุลา นานาวัตถุกาโย ถุลลัจจะยาโย อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                   ปัสสะสิ  อาวุโส.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า              อามะ  ภันเต  ปัสสามิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                    อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               สาธุ  สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย ปาจิตติยาโย อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา  นานาวัตถุกาโย ทุกกะฏาโย  อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา ทุพภาสิตาโย อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     ปัสสะสิ   อาวุโส.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า               อามะ  ภันเต   ปัสสามิ.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า                     อายะติง  อาวุโส   สังวะเรยยาสิ.

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า                สาธุ สุฏฐุ  ภันเต สังวะริสสามิ.(3หน)

ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า  :- ถ้าผู้พรรษามากเป็นผู้แสดงให้เปลี่ยนที่ขีดเส้นใต้ไว้ จากคำว่า ภันเต เป็น อาวุโส, อาวุโส เป็น ภันเต, ปัสสะสิ เป็น ปัสสะถะ และ สังวะเรยยาสิ เป็น สังวะเรยยาถะ

 

 

 

 


Written by tipitakastudies

19 January 2008 at 4:56 pm